วันนี้คุณอ่านข่าว&บทความแล้วหรือยัง?
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีที่ทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีประชาชนประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นพระราชพิธีที่สะท้อนให้เห็นถึงคติ ความเชื่อ พิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูกภาพสะท้อนของสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชน ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และราษฎร บทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาการเกษตร โดยคติความเชื่อ รูปแบบพระราชพิธีในแต่ละยุคสมัยมีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย
กรกฎาคม 17, 20232,409
11
การพระราชพิธีนี้ มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัย มีจุดประสงค์เพื่อบำรุงขวัญกำลังใจให้กับผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย การพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น ๒ พระราชพิธี ได้แก่ ๑) พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีทางพุทธศาสนา เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช กระทำเพื่อทำขวัญพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ ที่จะนำไปหว่านไถหว่านในพระราชพิธีแรกนาขวัญ มีข้าวเปลือก เป็นต้น พระราชพิธีนี้จัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเวลาเย็น ๒) พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ กระทำในวันรุ่งขึ้นต่อจากพระราชพิธีพืชมงคล การพระราชพิธีนี้ว่าด้วยเรื่องของการลงมือไถเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณสมัยและอยู่ในพระราชพิธีสิบสองเดือนจัดขึ้นในเดือนหก
กรกฎาคม 17, 20232,019
769
นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นพระยาแรกนา พร้อมด้วยเทพีคู่หาบทองและเทพีคู่หาบเงิน ผู้อัญเชิญเครื่องอิสริยยศ คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา และพระโคแรกนา รวมถึงข้าราชการและบุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธีซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2566
กรกฎาคม 17, 20231,950
14